วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แข่งเรือเฮือซ่วง..แห่กฐินทางน้ำ...สืบสานสู่รุ่นลูก-หลาน

ปีนี้จังหวัดสุโขทัย เน้นการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นหลัง เสริมงานประเพณีลอยกระทง และเทศกาลอาหาร โดยเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโข ทัย ได้กำหนดจัดแห่กฐินทางน้ำขึ้น ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2552 ณ บริเวณเขื่อนเรียงหิน หมู่ 2 ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัยว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ สุดเสมอใจ นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวถึงความเป็นมาของประเพณีแห่องค์กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ หรือชาวบ้านเรียกว่า (เฮือซ่วง) เป็นการทำบุญในเทศกาลทอดกฐินของชาวไทยพวน ที่นิยมทอดกันตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือน 12 และถือกันว่า การทอดกฐินได้บุญมาก ผู้มีฐานะดีพอที่จะทอดได้ ต้องทอดด้วยกันทุกคน ผู้มีจิตศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐิน ต้องเขียนหนังสือแสดงความจำนงจะทอดกฐินในวัน เดือน ปี นั้น ๆ ไปติดประกาศไว้ที่วัด เรียกว่า จองกฐินนายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวอีกว่า ในอดีตการทอดกฐินถ้าไปทอดที่วัดห่างไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันแห่ไปแล้วทอดเสร็จในวันเดียว หากทอดที่วัดประจำในหมู่บ้าน หรือวัดใดวัดหนึ่งใกล้ ๆ กัน จะต้องมีการแห่วันหนึ่ง ทอดวันหนึ่ง การแห่ คือ การจัดเครื่องกฐิน เรียกว่า กองกฐิน ลงเรือยาวขนาดใหญ่ซึ่งจัดสร้างขึ้นไว้ในการนี้โดยเฉพาะ แล้วประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตามความนิยมของชาวบ้านหาดเสี้ยว ก่อนจะแห่ขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งบรรดาชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งแม่น้ำ เมื่อได้ยินพิณพาทย์แห่กฐินมา จะพากันอุ้มลูกจูงหลานมาดูมาชมอย่างคับคั่ง ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะถือเครื่องไทยธรรมตามมีตามเกิด มารอคอยอยู่ที่ท่าน้ำเพื่อร่วมอนุโมทนาด้วยว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเรือกฐินผ่านมา จะแวะเข้าไปรับทุก ๆ แห่ง จนสุดหมู่บ้านแล้ววนกลับ ในการแห่กฐินนี้พวกเด็กเล็กในหมู่บ้านที่ทอดกฐิน ต่างพากันร้องไห้กระจองอแง ขอให้พ่อแก่นำไปแห่กฐินด้วย พ่อแม่จำเป็นจะต้องพาลงเรือพายเรือแจวไปร่วมกับเรือกฐิน แต่ประเพณี ดังกล่าวเริ่มจะจางหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นหลังก็ยังให้ ความสนใจประเพณี นี้ไม่มากนัก“ดังนั้นทางผู้บริหาร และคณะเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว จึงได้ฟื้นฟูและสนับสนุนประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ขึ้น ซึ่งคาดหมายว่า จะได้รับความพึงพอใจจากชาวตำบลบ้านหาดเสี้ยว และคนสุโขทัย พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สำคัญอีกอย่างของคนสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมและเมืองมรดกโลก ซึ่งพร้อมจะสืบสานประเพณีนี้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนเทศบาลตำบลหาดเสี้ยวและคน หาดเสี้ยวต่อไป”ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวว่า สุโขทัย เป็นเมืองเก่าแก่ เป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมประ เพณีที่หลากหลาย และน่าค้นคว้า ซึ่งหากใครได้มาชมงานกฐินทางน้ำ และแข่งเรือของชาวหาดเสี้ยวแล้ว เชื่อว่านอกจากจะได้สนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีของที่นี่อีกด้วย.



มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่นคงพระพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็น
จังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย
หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี
พ. ศ. 1780-1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครอง
หลายพระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย
และวางรากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไป
อย่างกว้างขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทยใน
สมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการ
ยกย่องให้เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534
งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
วันที่ 31 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2552
ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
กิจกรรม
กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การแสดงแสง เสียง ขบวนแห่กระทง การประกวด
กระทง พนมหมาก พนมดอกไม้ ประกวดนางนพมาศ ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การ
แสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัย การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
สอบถามรายละเอียด
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร. 0 5569 7527
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดแพร่
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดกำแพงเพชร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย โทรศัพท์ 0 5561 6228, 0 5561
6366 โทรสาร 0 5561 6230
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296Link
ที่น่าสนใจ สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร. 0 5561 2286
http://www.sukhothai.go.th
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย
http://www.tourismthailand.org/sukhothai

สุโขทัย ในอดีตเคยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาติไทย เมื่อ 700 ปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็น
จังหวัดหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง คำว่า สุโขทัย มาจากคำสองคำคือ สุข+อุทัย
หมายความว่า รุ่งอรุณแห่งความสุข สุโขทัยได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ. ศ.
1800 มีการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้นปกครองสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เป็นปฐมกษัตริย์ ตลอดระยะเวลา 120 ปี ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ปกครองหลาย
พระองค์ ที่สำคัญคือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย และวาง
รากฐานการเมือง การปกครอง ศาสนา ตลอดจนขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้าง
ขวาง และด้วยความสำคัญในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของไทย ในสมัยเริ่ม
สร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการยกย่องให้
เป็น มรดกโลก โดยองค์การ UNESCO เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534
อาณาเขต
จังหวัดสุโขทัยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 427 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ
6,596 ตารางกิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญที่มา
http://www.loikrathong.net/th/hl_sukhothai.php
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5561 1619
ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย โทร. 0 5567 1466
สถานีตำรวจภูธร โทร. 191, 0 5561 1199, 0 5561 3112
โรงพยาบาลสุโขทัย โทร. 0 5561 1702, 0 5561 1782
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 5561 3296

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

การจำแนกสารรอบตัว
1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง
1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว
1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ
2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม
2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน
2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกัน

สารละลาย
สารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารละลาย มี 3 ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซสารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมากสารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อยสารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีกสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้อง

สารบริสุทธิ์
สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี
ที่มาhttp://www.geocities.com/sci123th/m3.html

ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=image
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีดมี
ตรี เมนเดเลเยฟ บิดาแห่งตารางธาตุตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วย
เริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมา
ที่มาth.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า เด็กหญิง วรัญญา เงาะหวานและคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1โรงเรียนเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2


คำนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ในใจลูกทุกคน จนยากที่จะเปรียบเทียบได้ กับทุกสรรพสิ่งในโลก ดังคำขวัญที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานไว้ว่า “แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก คนที่เที่ยววิ่งหาพระเพื่อกราบไหว้พระอรหันต์ อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์อยู่กับตัวแล้ว ควรปฏิบัติต่อแม่อย่าให้บกพร่องได้” พระคุณของแม่อันประกอบไปด้วยความรักที่มีต่อลูกอย่างสุดหัวใจเช่นนี้ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า “รัก” ให้แม่ได้ชื่นใจบ้าง เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม ่ผ่านภาพและเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า “ลูกรักแม่”
ที่มา http://www.mthai.com/scoop/mother_day/

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า เด็กหญิง วรัญญา เงาะหวานและคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1โรงเรียนเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2


พระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

บันทึกพิเศษ การเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอในทัศนะของชาวต่างประเทศต่างก็มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ทั้งๆที่ยอมรับโดยสนิทใจว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง เพราะพระองค์ทรงสามารถคำนวณและประกาศอย่างเป็นทางการไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี ว่าจะมีสุริยุปราคาหมดดวงเห็นได้ในประเทศไทยและกำหนดสถานที่ ณ ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ริมฝั่งทะเลตรงข้ามเกาะจานไว้อย่างชัดเจนล่วงหน้าด้วย สำหรับฝรั่งเศส-เดิมเลือกที่ช่องแคบมะละกา ต่อมาให้เปลี่ยนอีกตามคำแนะนำของกงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทยว่า ควรเป็นชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งทางฝรั่งเศสเองก็พยายามเที่ยวค้นหาที่จะดูหลายตำบล ตั้งแต่เมืองชุมพรขึ้นมาจนถึงเมืองปราณบุรีก็หาไม่ได้ ในที่สุดคณะวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสก็ขอพระบรมราชานุญาตมาตั้งโรงที่จะดูสุริยุปราคาในบริเวณค่ายหลวงตำบลหว้ากอ ต่ำลงไปทางใต้พลับพลาค่ายหลวงประมาณ 18 เส้น จึงประสบความสำเร็จด้วยพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้การเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในเดือนสิงหาคม 2411 นั้น มีสิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ 1.ในห้วงเวลานั้นเป็นฤดูฝน พื้นภูมิประเทศเป็นป่าเขามีไข้ป่าชุกชุม การเดินทางก็ลำบากและต้องฟันฝ่าอันตรายมากเหตุใดจึงทรงมีพระราชอุตสาหะแรงกล้าถึงเพียงนั้น ก็เป็นเพราะว่าสุริยุปราคาที่จะเห็นได้หมดวงในประเทศไทยนี้ยังไม่เคยมีมาแต่ก่อน จนถึงในตำราโหรของไทยว่า สุริยุปราคาไม่มีที่จะหมดดวงได้ ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณทราบเป็นพระองค์แรกในประเทศหรือในโลกก็ได้ว่า จะเห็นสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศไทย ณ ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม 2411 โดยได้ทรงคำนวณสอบสวนกับตำราสารัมภ์ ไทย มอญ และของอังกฤษอเมริกันแล้วเป็นที่แน่ชัดจึงได้ทรงประกาศเป็นทางการล่วงหน้าก่อนถึง 2 ปี ด้วยเหตุนี้พระองค์มิได้ทรงเกรงความยากลำบากและอันตรายใดๆที่จะเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเพื่อทรงพิสูจน์ด้วยพระองค์เอง 2. การเตรียมสถานที่และเตรียมการด้านต่างๆนับเป็นเรื่องสำคัญมาก แสดงถึงความละเอียดรอบครอบและการที่ทรงมีวิจารณญาณ เห็นการณ์ไกลเกี่ยวกับเกียรติภูมิและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจ เพื่อความมั่นคงและอนาคตของประเทศ ตามพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าที่สมุหพระกลาโหม ให้เป็นแม่กองไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับแรม ณ ตำบลหว้ากอ ตรงหน้าเกาะจานเข้าไปห่างจากคลองวาฬลงไปทางใต้ประมาณ 24 เส้น โดยให้จัดการจ้างคนในหัวเมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองกำเนิดนพคุณ เมืองประทิว และนายงานหลายนายทำการก่อสร้างค่ายหลวงพลับพลาที่ประทับและทำเนียบรับรองแขกเมือง สถานที่บริเวณก่อสร้างอยู่ริมหาด ซึ่งเป็นป่าไม้อยู่ก่อนแล้วมาแผ้วโก่นโค่นสร้างในคราวนี้ แล้วปลูกพลับพลาและทำเนียบเป็นอันมากสำหรับข้าราชการต่างๆในราชสำนักและแขกเมืองชาวยุโรปพักอาศัย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินประทับในค่ายหลวงตำหนักที่ประทับทำด้วยไม้ชั่วคราว เป็นตำหนัก 3 ชั้นทำเนียบแห่งอื่นปลูกเป็นเรือนชั้นเดียวแต่ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 3 ฟุตทุกหลังทำเนียบเหล่านี้สร้างด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกแทบทั้งหมด มุงด้วยจากบ้างใบตาลแห้งบ้าง ทำเนียบหมู่หนึ่งก็มีรั้วทำด้วยกิ่งไม้อย่างเรียบร้อย ล้อมรอบมิดชิดมองไม่เห็น และในบริเวณหรือลานทำเนียบมีโรงที่อยู่สำหรับคนใช้ และบริวารเป็นอันมาก ท้องพระโรงยาวประมาณ 80 ฟุต กว้าง 80 ฟุต อยู่ด้านตะวันออกของพลับพลาที่ประทับแรม มีพระทวารสองข้าง กับทั้งมีพระทวารที่ตรงกลางทางด้านยาว ซึ่งเป็นทางที่เข้าไปได้อีกช่วงหนึ่ง ที่ประทับยกพื้นสูงราว 3 ฟุต อยู่ใกล้ชิดกับพระทวารทางที่จะเข้าไปข้างในพลับพลาที่ยกพื้นกับรั้วลูกกรงทั้งเสาและผนังห้องท้องพระโรงดาดด้วยผ้าสีแดง มีพระเก้าอี้ตั้งอยู่บนราชบัลลังก์มีโต๊ะเล็กอยู่ทางขวา เต็มไปด้วยหีบทองและภาชนะบรรจุพระศรีพระโอสถ พระสุธารสและสิ่งของเครื่องราชูปโภคต่างๆ ทางในระหว่างพระทวาร และที่ประทับกันไว้เป็นช่องระหว่างสำหรับแขกเมืองเฝ้า และลองข้างช่วงนี้ในระยะประมาณครึ่งทาง เป็นที่ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่เข้าเฝ้า ทำเนียบของแขกฝรั่งยาวประมาณ 140 ฟุต กว้าง 50 ฟุต เป็น 2 หลังโดด หลังใหญ่มีห้องโถงอยู่กับพื้น สามารถจุคนในเวลาเลี้ยงได้ 40-50 คน และสองข้างยกพื้นสูงประมาณ 3 ฟุต ทำเป็นห้องเล็กๆเป็นแถวรวม 12 ห้อง สำหรับเป็นที่พักอาศัยของพวกผู้ว่าราชการ มุมสุดเป็นสถานที่เล็กๆหลังหนึ่ง มีห้องนอน 2 ห้อง ห้องแต่งตัว 2 ห้อง มีระเบียงเป็นห้องนั่งเล่น สำหรับ แขกได้สบาย เรือนตอนนี้ตีฝาและยกพื้นด้วยไม้จริง นอกนั้นทำด้วยไม้ไผ่ซีกทั้งสิ้น ด้านอาหาร มีผู้ว่าราชการ พระฤาษีสมบัติบริบูรณ์กับพ่อครัวจีน และข้าราชการรับหน้าที่จัดดูแลเรื่องอาหารเลี้ยงแขกเมืองและแขกฝรั่งทั้งหมดที่อยู่ในกรุงเทพ และที่รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับเชิญไปดูสุริยุปราคา และโปรพระราชทานเลี้ยงอาหารฝรั่งตลอด โดยพ่อครัวฝรั่งเศสพร้อมด้วยชาวอิตาลี 1 คน และลูกมือชาวเมืองอีกหลายคน การเลี้ยงดู ก็จัดอย่างบริบูรณ์และประณีต บรรดาของอร่อยที่จะสามารถหามาได้จากประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ กรุงเทพรวมทั้งเหล้า และเหล้าองุ่นต่างๆ น้ำแข็งก็มีบริบูรณ์ แขกฝรั่งพากันกล่าวว่า นับเป็นที่พักอาศัยอันอุดมที่สุดในป่าแห่งประเทศสยามทีเดียว 3. เครื่องมือและกล้องส่องดูดาว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเมอร์ซิเออร์ สเตฟาน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสที่เข้ามาตั้งเครื่องดูสุริยุปราคาที่หว้ากอ มีความเห็นว่า กล้องของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีคุณภาพดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับว่าวิเศษสำหรับประเทศสยาม พระองค์ทรงสนพระทัยยิ่งในวิชาดาราศาสตร์ และพระองค์ได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า พระองค์ทรงรอบรู้วิชาวิทยาศาสตร์ลึกซึ้งเพียงใด แต่ พระองค์ ทรงถ่อมพระองค์มาก การเสด็จมาหว้ากอครั้งนี้ก็เพราะแรงผลักดันที่จะได้ทรงพิสูจน์การศึกษาแนวทางวิทยาศาสตร์ของพระองค์เป็นประการหนึ่ง 4. การที่ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เชิญ เซอร์ แฮรี่ ออด ผู้สำเร็จราชการมลายูของอังกฤษซึ่งประจำอยู่ ณ เมืองสิงคโปร์ และภริยามาเป็นอาคันตุกะส่วนพระองค์ และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส เข้ามาตั้งกล้องส่องดูดาวร่วมด้วยได้ที่ตำบลหว้ากอ โดยมีเครื่องกล้องใหญ่น้อยหลายอย่างที่ทันสมัย ประมาณ 50 อันเศษ นับเป็นวิเทโศบายอันชาญฉลาดที่ได้ทรงสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในยุโรป อย่างมีเกียรติและสมศักดิ์ศรียิ่งโดยเฉพาะได้ทรงเปลี่ยนแปลงปรับปรุงขนบธรรมเนียมเก่าที่ฝรั่งเห็นว่าเป็นเครื่องถ่วงความเจริญ ซึ่ง เซอร์ แฮรี่ ออด มีข้อสังเกตว่าในพระราชสำนักได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มิเคยปรากฏมาแต่ก่อนเช่น การเปิดพระราชมนเทียรพระราชทานให้แขกเมืองเข้าไปได้ไม่หวงห้าม โปรดให้พบปะกับฝ่ายในให้ออกมารับแขกเมืองโดยเปิดเผย ส่วนเจ้านายในราชสกุลที่ทรงพระเยาว์ก็ทรงยอมให้สมาคมกับแขกเมืองได้อย่างฉันมิตรสนิทสนม พระเจ้าแผ่นดินและขุนนางของพระองค์ สมาคมกับแขกเมืองอย่าง ยอมให้อิสระเท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นับเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งฝรั่งเห็นว่าเป็นประเทศหนึ่ง ในชนชาติที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก เหตุการณ์ที่ฝรั่งได้มาประสบพบเห็นด้วยตนเองนี้ ทำให้ชาวฝรั่งเกิดความประทับใจ และมั่นใจว่าประเทศไทยมีทางจะก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีนโยบายปิดประตู และมีการสมาคมกับชาวฝรั่งอย่างมีเกียรติ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรและทรงศึกษาเครื่องมือและกล้องส่องดูดาว ตลอดจนเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยของอังกฤษ และฝรั่งเศสพร้อมกันไป นับว่าเป็นประโยชน์ในการที่จะพัฒนา วิชาวิทยาศาสตร์ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปด้วย คณะกรรมการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้เพียรพยายามที่จะหาหลักฐานต่าง ๆ เพื่อจะชี้ให้เห็นชัดเป็นข้อยุติ ว่า ณ ที่ใดที่บ้านหว้ากอ (ในปัจจุบันนี้) เป็นที่ตั้งค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับแรมที่ทรงกล้องทอดพระเนตรสุริยุปราคาจึงได้ ออกกันไปศึกษาสภาพพื้นที่ 2-3 ครั้ง ครั้งหลังเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2524 คณะที่ออกไปสำรวจร่วมกับทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เท่าที่จำได้มี ดร. ระวี ภาวิไล ดร. ประโชติ เปล่งวิทยา ดร. ทวีศักดิ์ ปิยะกาญจน์ ดร. ขาว เหมือนวงศ์ ดร. ธีระชัย ปูรณโชติ คุณระรินทิพย์ ทรรทานนท์ ทางจังหวัดประจวบ ฯ ก็มี ข้าพเจ้าผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ ศึกษาธิการจังหวัด ผู้ช่วยศึกษา ธิการจังหวัดนายอำเภอเมือง เป็นต้น ดังปรากฏในภาพ ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศประกอบ ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ชัดเจนนัก เพราะยังหาหลักฐานสำคัญ ๆ ไม่พบ แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่าเป็นบริเวณนั้น ๆ ซึ่งก็ใกล้เคียงมาก และทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในเรื่องหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องการสร้างสวนสาธารณะ หรือสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ รวมในที่เดียวกัน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในปลายปี 2525 นี้ขอขอบ คุณ อาจารย์ จำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ ที่ให้ความรู้กระผมที่มา http://siweb.dss.go.th/Scientist/Scientist/King_rama4_Note1.html
ขอบคุณ อาจารย์ จำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ ที่แนะนำเว็บBlogspot และสอนวิธีใช้ให้ดิฉัน